Health

  • กรดไหลย้อน เกิดจากสาเหตุหลักคือกินแล้วนอน
    กรดไหลย้อน เกิดจากสาเหตุหลักคือกินแล้วนอน

    กรดไหลย้อน เกิดจากสาเหตุหลักคือกินแล้วนอน

    กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อนเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคนี้ก็มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง โดยจะทำให้มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ หลังจากทานอาหารมื้อหนัก และมีอาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว

    กรดไหลย้อน อาการและมีสาเหตุจากอะไรบ้าง ?

    อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ ะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยก ของหนัก หรือการนอนหงาย ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ กลืนลำบาก, กลืนแล้วเจ็บ, เรอบ่อย, ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืน, เสียงแหบเรื้อรัง เจ็บคอ และรู้สึก ระคายเคืองทางเดินหายใจ, เจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีปัญหาโรคหัวใจ นอกจากนี้ ยังพบว่า โรคกรดไหลย้อนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังและโรคหอบหืด

    โดยปกติผู้ป่วยที่มีอาการแสบหน้าอก และหรือเรอเปรี้ยว (ทั้งนี้ไม่ควรมีอาการ ที่บ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอื่น อาทิ น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็น เลือดหรือมีไข้) แพทย์สามารถวินิจฉัย ได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนและให้ การรักษาเบื้องต้นได้เลย โดยจะติดตาม ดูอาการของผู้ป่วย ในบางรายอาจมี ความจำเป็นต้องได้รับการตรวจพิเศษ เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การกลืนแป้ง การตรวจวัดการบีบตัว ของหลอดอาหาร และการตรวจวัด ความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร ซึ่ง พบว่าได้ผลแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน

    หากมีอาการดังต่อไปนี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน

    • แสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก
    • มีอาการเรอเปรี้ยว มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
    • ท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
    • คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
    • เจ็บหน้าอก จุก คล้ายเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
    • หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ
    • เจ็บคอเรื้อรัง

    สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

    • หลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวโดยที่ยังไม่กลืนอาหาร
    • ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
    • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ
    • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
    • พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานเสร็จแล้วนอนทันที การรับประทานของมันๆ มากเกินไป
    • ภาวะความเครียด  โดยผู้ที่มีความเครียดมักมีภาวะหลอดอาหารที่มีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น หลอดอาหารอ่อนไหวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที
    • ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น

    หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน ก็คือ พฤติกรรม “รับประทานแล้วนอน” ซึ่งการนอนจะทำให้หูรูดมีการทำงานที่ไม่ดี เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นไปได้ รวมไปถึงท่านอนราบยังทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้แล้ว การรับประทานอาหารและนอนทันที ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนถึง 2 เท่า

    อย่างที่ทราบกันดีว่า โรคกรดไหลย้อน มักพบในผู้ที่ทำงานออฟฟิศ เนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แต่ไม่เพียงเท่านั้น โรคกรดไหลย้อนสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ เป็นโรคใกล้ตัวที่ใครๆ ก็เป็นได้ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ มีความเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน

    • รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รับประทานแล้วนอนทันที
    • ชอบรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเป็นประจำ
    • ดื่มสุรา น้ำอัดลม
    • สูบบุหรี่
    • ผู้หญิงตั้งครรภ์
    • มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน
    • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    • ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
    • รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นต้น

    กรดไหลย้อน

    ปรับพฤติกรรม รักษา“กรดไหลย้อน”

    โรคกรดไหลย้อนพบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาและป้องกันโรคนี้ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ และช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

    • รับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
    • ไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
    • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้
    • รับประทานอาหารมื้อเย็น ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปมากเกินไป

    โรคกรดไหลย้อนหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา จนกลายเป็นภาวะเรื้อรัง จะส่งผลให้เกิดแผลและรุนแรงจนหลอดอาหารตีบ และอาจร้ายแรงจนทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ เนื่องจากหลอดอาหารส่วนปลายมีการสัมผัสกับกรดมากเกินไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและเรื้อรัง หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปรับการตรวจวินิจฉัยและจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

    ป่วยเป็น “กรดไหลย้อน” ควรงดอาหารอะไรบ้าง

    กรดไหลย้อน เป็นโรคที่มักมีอาการเป็นๆ หายๆ หากผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิม โดยเฉพาะอาหารการกินที่ส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น อาหารเหล่านี้คืออาหารที่ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยง

    1. อาหารไขมันสูง

    ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรงดอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด ๆ อาหารมัน ช็อกโกแลต ฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ นม เนย ชีส ไอศกรีม หรือไขมันจากเนื้อสัตว์ เป็นต้น เนื่องจากไขมันจากอาหารเหล่านี้จะไปรวมกับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุก แน่น หรือร้อนที่กลางอกได้

    2. อาหารที่มีแก๊สมาก

    ไม่ว่าจะเป็น น้ำอัดลม ชา กาแฟ โซดา เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด อาหารรสเผ็ดจัด หรือ ถั่ว เพราะอาหารกลุ่มนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำย่อยมากยิ่งขึ้น

    3. น้ำส้มสายชู

    น้ำส้มสายชูจัดเป็นเครื่องปรุงรสที่มีกรดมาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนไม่ควรเติมน้ำส้มสายชูลงในอาหาร เพราะจะเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นไปอีก

    4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ สุรา ไวน์ ค็อกเทล หรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด ผู้ป่วยกรดไหลย้อนควรเลี่ยง เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารเปิดออก ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น

    5. ผลไม้ที่มีกรดมาก

    ผลไม้ที่ผู้ป่วยกรดไหลย้อนห้ามกินหรือควรเลี่ยงไว้เป็นดี คือกลุ่มผลไม้ที่มีกรดมาก เช่น ส้ม องุ่น มะนาว มะเขือเทศ สับปะรด หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยวจัด รวมไปถึงซอสมะเขือเทศก็ควรเลี่ยงด้วยเช่นกัน

    6. ผักที่มีกรดแก๊สมาก

    อย่างเช่น หอมหัวใหญ่ดิบ กระเทียม พริก พริกไทย หอมแดง เปปเปอร์มินต์ หรือสะระแหน่ รวมทั้งผักดิบทุกชนิดก็ควรเลี่ยง เพราะผักเหล่านี้จะไปเพิ่มกรดแก๊สในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก

    7. อาหารหมักดอง

    อาหารหมักดองอย่าง ปลาร้า หน่อไม้ดอง ผักกาดดอง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม กิมจิ ซูชิบางชนิดที่มีผักดอง ล้วนมีส่วนเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดอาการจุดเสียดแน่นท้องได้

    8. อาหารเสริมที่มีไขมันสูง

    แม้แต่อาหารเสริมบางชนิดก็ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะอาหารเสริมจำพวกน้ำมันตับปลา สารสกัดจากกระเทียม วิตามินอี หรือวิตามินซีก็เสี่ยงเพิ่มกรดในกระเพาะได้เช่นกัน

    9. หมากฝรั่ง

    การเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นการเพิ่มการหลั่งน้ำลาย ทำให้เราต้องกลืนน้ำลายลงท้องมากขึ้น เท่ากับว่าได้กลืนลมลงกระเพาะอาหารมากขึ้นด้วย ดังนั้นผู้ป่วยกรดไหลย้อนจึงไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อยๆ

    การมีวินัย ใส่ใจในการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ไม่เพียงป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ แต่ยังลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและร้ายแรงอื่นๆ ได้อีกด้วย นอกจากการสังเกตอาการของตนเองแล้ว ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนบางราย อาจมีอาการแสดงอื่นๆ ที่แตกต่างกันไป อาทิ เจ็บหน้าอก ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะต้องตรวจซักประวัติและวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน เช่น การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร การตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร

    ที่มา

     

    ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  ikehika.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • จัดการ แผนการเงิน ยังไง เมื่อรายรับลด
    จัดการ แผนการเงิน ยังไง เมื่อรายรับลด

    หลายคนอาจต้องเผชิญกับรายได้ที่ลดลงแบบไม่ทันตั้งตัว แต่หนี้ที่จะต้องชำระคืน และรายจ่ายต่าง ๆ ก็ยังอยู่เหมือนเดิม จะอยู่รอดในช่วงเวลาแบบนี้ได้ยังไง ลองทำ แผนการเงิน ดู อาจช่วยจัดการเงินให้ผ่านช่วงเวลาแบบนี้ไปได้

    1. ทำ “แผนการเงิน” เพื่อจัดสรรเงินที่มี

    เมื่อรายได้ลดลง เราก็ต้องจัดสรรเงินให้พอใช้ โดยการทำ “แผนใช้เงิน” อาจจะต้องเขียนหรือทำบันทึกออกมาอย่างจริงจัง เพื่อให้รู้ว่า จริง ๆ แล้วมีรายรับและรายจ่ายมากแค่ไหน ซึ่งแผนการใช้เงินที่ดีจะต้องมีรายรับมากกว่าหรือเท่ากับรายจ่าย และแบ่งรายจ่ายออกเป็นส่วน ๆ อย่างชัดเจน

    เมื่อเราทำแผนใช้เงินออกมาแล้ว เราก็ต้องใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ หากใช้ส่วนไหนเกิน ก็ให้ลดรายจ่ายส่วนอื่น เพื่อไม่ให้รายจ่ายมากเกินรายรับ ถ้ามีเวลา ก็ลองทำแผนใช้เงินล่วงหน้าสัก 3 เดือนเพื่อรองรับเหตุการณ์ในอนาคต

    1. ปรับตัวและตัดใจจากสิ่งที่ไม่จำเป็น ตาม แผนการเงิน

    พอเราทำแผนใช้เงินแล้วพบว่า รายจ่ายมากกว่ารายรับ ก็ถึงเวลาที่ต้องตัดใจ แต่รายจ่ายของเรามีมากมาย ควรจะตัดใจจากรายจ่ายไหนดี จะให้ตัดทั้งหมดก็คงไม่ไหว รายจ่ายของเราแบ่งออกได้ 2 แบบ

    แบบที่ 1: รายจ่ายจำเป็น เป็นรายจ่ายที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ถ้าไม่จ่ายอาจกระทบถึงสุขภาพหรือคุณภาพชีวิต เช่น อาหาร ยารักษาโรค รายจ่ายประเภทนี้ตัดไม่ได้แต่หาทางเลือกเพื่อลดรายจ่ายได้ เช่น แทนที่จะกินอาหารมื้อหรู ก็เลือกกินอาหารราคาธรรมดาที่มีสารอาหารครบ

    แบบที่ 2: รายจ่ายไม่จำเป็น เป็นรายจ่ายที่ไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตหากไม่จ่าย แต่อาจทำให้มีความสุขน้อยลง รายจ่ายประเภทนี้สามารถทยอยลดหรือตัดออกได้ เช่น ลดค่ากาแฟ เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ เลิกซื้อหวย

    หลังจากนั้น เราก็นำ “แผนใช้เงิน” มาดูว่ามีรายจ่ายไหนไม่จำเป็น หรือรายจ่ายจำเป็นไหนที่สูงเกินไป แล้วเลือก ลด หรือตัดออก ลองหารายจ่ายไม่จำเป็นในเรื่องเงินหายไปไหนได้ที่นี่

    แต่ความจำเป็นหรือไม่จำเป็นของคนเราอาจไม่เหมือนกัน รายจ่ายบางอย่างอาจจำเป็นต่อคนบางคน แต่อาจไม่จำเป็นต่ออีกคน เช่น รถยนต์อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่มีอาชีพขับรถแท็กซี่หรือตัวแทนขายสินค้า แต่อาจไม่จำเป็นสำหรับคนที่ทำงานใกล้บ้าน คนที่จะตัดสินได้ดีที่สุดว่า อะไรคือสิ่งจำเป็น อะไรคือสิ่งไม่จำเป็น ก็คือตัวเราเอง

    แผนการเงิน 2

    1. จัดการภาระหนี้

    ถึงแม้รายได้จะลดลง แต่หนี้ก็ยังคงต้องจ่าย ถ้าทำแผนใช้เงินแล้วมีเงินพอจ่าย ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเจอว่าเงินไม่พอจ่ายหนี้ ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

    1) จดรายการหนี้ทั้งหมดที่มี โดยใช้ตารางภาระหนี้เพื่อให้รู้ว่า เรามีหนี้อะไรบ้าง อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ กำหนดจ่ายเมื่อไหร่

    2) เช็กรายการหนี้ทั้งหมดว่า มีหนี้ที่เข้าเกณฑ์การช่วยเหลือตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของภาครัฐหรือไม่ หากใช่ ให้ติดต่อสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อขอเข้าร่วมมาตรการ

    3) หากได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการแล้ว แต่เงินที่มี ก็ยังไม่พอจ่ายหนี้ หรือไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ ให้ทำหนังสือไปยังสำนักงานใหญ่ของเจ้าหนี้เพื่อขอความอนุเคราะห์ลดจำนวนเงินผ่อนต่อเดือนหรือขยายระยะเวลาการผ่อน โดยระบุจำนวนเงินที่สามารถผ่อนได้หรือระยะเวลาที่ต้องการขยายให้ชัดเจน พร้อมทั้งระบุความจำเป็นที่ต้องขอความอนุเคราะห์ เพื่อให้สถาบันการเงินพิจารณา เมื่อสถาบันการเงินพิจารณาและมีหนังสือตอบกลับ ต้องอ่านเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ย และจำนวนที่ต้องผ่อนชำระ รวมไปถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วนก่อนลงนามตกลง ทั้งนี้ การติดต่อสถาบันการเงินอาจใช้เวลา จึงควรวางแผนติดต่อสถาบันการเงินแต่เนิ่น ๆ หากติดต่อแล้ว ไม่มีความคืบหน้าหรือติดต่อไม่ได้ สามารถใช้ช่องทาง “ทางด่วนแก้หนี้” เพื่อติดต่อสถาบันการเงินได้อีกทางหนึ่ง

    1. หาทางหารายได้เพิ่ม

    เมื่อรายได้ลด ใครต่อใครก็มักจะบอกให้หารายได้เพิ่ม แต่การหารายได้เพิ่ม อาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน ถ้ายังคิดไม่ออกว่าจะหารายได้เพิ่มยังไง อาจจะลองขายของที่ไม่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าของใช้ส่วนที่เกินความจำเป็น หรือของสะสมที่พอจะแลกเปลี่ยนเป็นเงิน มาใช้จ่ายหรือลดภาระหนี้ได้ และหากลำบากจริง ๆ ก็อาจต้องขายทรัพย์สินที่มีอยู่ พอเริ่มมีรายได้ ค่อยเก็บเงินซื้อใหม่

    1. ตรวจสอบสวัสดิการและมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ

    ถ้ายังหารายได้เพิ่มไม่ได้ ก็ลองเช็กสวัสดิการที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม หรือมาตรการพิเศษที่รัฐออกมาช่วยเหลือในช่วงวิกฤต เพื่อดูว่าเราเข้าเกณฑ์ตามมาตรการนั้นหรือไม่ หากเข้าเกณฑ์ ให้ติดต่อหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อขอรับการช่วยเหลือ


    ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    โควิด-19 รัฐบาลเกาหลีใต้ยกเลิกมาตรการกักตัว 7 วัน
    S&P คาดราคาน้ำมันอาจพุ่งแตะ 121 ดอลลาร์ หากจีนเปิดประเทศ
    สุขภาพดี ด้วยอาหารมีกากใย อิ่มง่าย สบายท้อง
    Working Together to Make Investments
    ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://www.ikehika.com/
    สนับสนุนโดย  ufabet369
    ที่มา www.bot.or.th